![](https://static.wixstatic.com/media/e3c4bd_89d83c6498664f918117cfddeb1bdfd8~mv2.jpg/v1/fill/w_920,h_500,al_c,q_85,enc_auto/e3c4bd_89d83c6498664f918117cfddeb1bdfd8~mv2.jpg)
หลังคาบ้านสไตล์ Contemporary
บ้านสไตล์ Contemporary หรือร่วมสมัย เป็นรูปแบบการสร้างบ้านที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย ด้วยรูปแบบบ้านที่ดูเรียบง่ายสบายตา ไม่แหวกแนวจนเกินไป สามารถเข้าได้กับทุกยุคสมัย ใน ขณะเดียวกันบ้านสไตล์ Contemporary มีความยืดหยุ่นในงานออกแบบและฟังก์ชั่นการใช้งาน เพื่อวัตถุประสงค์ของการอยู่อาศัยที่ลงตัวที่สุดตามยุคสมัยนั้น ๆ
ในด้านงานก่อสร้าง แม้ว่าบ้านสไตล์ Contemporary มีวิธีการก่อสร้างที่ไม่ซับซ้อน ช่างส่วนใหญ่จะคุ้นเคยงานลักษณะนี้กันดีครับ จึงเห็นได้ว่า บ้านจัดสรรส่วนใหญ่มักเลือกใช้บ้านสไตล์นี้ แต่อย่างไรก็ตามในความเรียบง่ายนั้นมีองค์ประกอบสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ นั่นคืองานหลังคาบ้าน โดยรวมของบ้าน Contemporary จะนิยมเลือกหลังคาปั้นหยาเป็นหลัก รองลงมาเป็นหลังคาทรงจั่ว หรือบางหลังอาจมีการผสมผสานหลังคาแต่ละแบบเข้าด้วยกัน เนื้อหานี้ขอพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับหลังคาบ้านสไตล์ Contemporary ให้มากขึ้น พร้อมกับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องหลังคามาฝากท้ายเนื้อหาด้วยครับ
สนับสนุนโดย : SCG Roof Service
ผู้เขียน : อภิสิทธิ์ สุธาประดิษฐ์
![](https://static.wixstatic.com/media/e3c4bd_d267d07f0566418faa65eccb01677269~mv2.jpg/v1/fill/w_620,h_345,al_c,q_80,enc_auto/e3c4bd_d267d07f0566418faa65eccb01677269~mv2.jpg)
เอกลักษณ์ของหลังคาบ้านสไตล์ Contemporary
![](https://static.wixstatic.com/media/e3c4bd_4cd49f5d70f54481b5ce0b95fd45a8c3~mv2.jpg/v1/fill/w_620,h_345,al_c,q_80,enc_auto/e3c4bd_4cd49f5d70f54481b5ce0b95fd45a8c3~mv2.jpg)
1. หลังคาทรงปั้นหยา
รูปทรงหลังคาที่นิยมใช้มากที่สุดในบ้านสไตล์ Contemporary คือ หลังคาทรงปั้นหยา (Hip Roof) ที่มีด้านลาดชันขึ้นไปชนกันที่ปลายด้านบน ซึ่งดูดีดูทันสมัยและมีรายละเอียดน่าสนใจ สามารถเข้ากันได้กับตัวบ้าน และยังมีชายคาที่ยื่นยาวออกมาจากตัวบ้านยังช่วยคุ้มแดดคุ้มฝนได้มากกว่าทรงหลังคาอื่น ๆ
![](https://static.wixstatic.com/media/e3c4bd_3772c62bf51f41fe938f0382ae5b6e2c~mv2.jpg/v1/fill/w_620,h_414,al_c,q_80,enc_auto/e3c4bd_3772c62bf51f41fe938f0382ae5b6e2c~mv2.jpg)
2. ผสมผสานรูปทรงหลังคาหลายแบบเข้าด้วยกัน
แม้ว่าบ้านสไตล์ Contemporary จะนิยมใช้หลังคาทรงปั้นหยา แต่ก็สามารถประยุกต์ดีไซน์รูปแบบหลังคาให้มีความหลากหลาย เพื่อให้มีเอกลักษณ์ได้ เช่น หลังคาทรงปั้นหยาผสมกับทรงจั่ว จะช่วยเพิ่มความหรูหราให้กับตัวบ้าน หรือหลังคาทรงปั้นหยาผสมหลังคาแบน (Flat Slab) เพื่อเพิ่มความโมเดิร์นให้บ้านมีกิมมิกที่น่าสนใจ แต่ยิ่งหลังคาบ้านมีการผสมผสานรูปทรงมากขึ้นเท่าไหร่ จะต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดงานในกระบวนการติดตั้งมากขึ้นเท่านั้น
![](https://static.wixstatic.com/media/e3c4bd_d267d07f0566418faa65eccb01677269~mv2.jpg/v1/fill/w_620,h_345,al_c,q_80,enc_auto/e3c4bd_d267d07f0566418faa65eccb01677269~mv2.jpg)
3. โทนสีหลังคาเข้ากันได้กับตัวบ้าน
ความโดดเด่นในสไตล์นี้ที่เห็นได้ชัดคือ การสร้างความรู้สึกให้แลดูอบอุ่นเป็นธรรมชาติด้วยโทนสี สีที่นิยมใช้ในบ้านสไตล์ Contemporary เน้นสีที่เรียบง่ายอย่างกลุ่มสีเอิร์ธโทน เช่น ขาว ครีม เทา และน้ำตาลอ่อน เป็นหลัก เพื่อให้ภาพรวมของบ้านดูสง่า โปร่ง และสบายตา ให้ความรู้สึกถึงความเป็นบ้านสมัยใหม่ที่ยังแฝงไว้ซึ่งความอบอุ่น สำหรับการเลือกสีหลังคาจะเลือกให้คุมโทนเข้ากันตัวบ้านเพื่อให้กลมกลืนไปด้วยกัน เช่น ตัวบ้านสีครีมหรือขาวไข่ไก่ใช้คู่กับกระเบื้องหลังคาคอนกรีต เอสซีจี รุ่นซีแพค สีอิฐอำไพ, บ้านสีเทาควันบุหรี่คู่กับกระเบื้องหลังคาคอนกรีต เอสซีจี รุ่นซีแพค กลุ่มสีนีโอคลาส สีเงินไททาเนี่ยม, บ้านสีน้ำตาลใช้กระเบื้องหลังคาคอนกรีต เอสซีจี รุ่นซีแพค สีน้ำตาลโอ๊คแดง หรือสีเทาปีกนางนวล เป็นต้น
![](https://static.wixstatic.com/media/e3c4bd_de2b0d3d4d69485885c0be1132b77baf~mv2.jpg/v1/fill/w_620,h_372,al_c,q_80,enc_auto/e3c4bd_de2b0d3d4d69485885c0be1132b77baf~mv2.jpg)
ข้อควรระวังในการติดตั้งหลังคา Contemporary
จากลักษณะของหลังคาแบบร่วมสมัย ที่มักจะใช้หลังคาทรงปั้นหยา หรือแบบผสมผสานประกอบกัน แม้ว่าจะเป็นรูปมาตรฐานที่ไม่ได้ซับซ้อนมาก แต่ก็ต้องควรระมัดระวังในการติดตั้งหลังคา โดยเฉพาะรอยต่อ จุดชนผนังและสันหลังคา ดังนี้
1. บริเวณข้างกระเบื้องแผ่นเรียบชนผนัง ต้องใส่แผ่นรองใต้หลังคา และแผ่นปิดรอยต่อ 1 แผ่นบริเวณจุดต่อครอบ อีกหนึ่งจุดที่ต้องให้ความสำคัญคือ บริเวณรอยต่อระหว่างกระเบื้องชนผนัง หากกระเบื้องที่เลือกใช้เป็นกระเบื้องแผ่นเรียบ บริเวณดังกล่าวจะต้องใส่แผ่นรองใต้หลังคา และแผ่นปิดรอยต่อ 1 แผ่น บริเวณจุดต่อของครอบผนัง เพื่อป้องกันการรั่วซึม
![](https://static.wixstatic.com/media/e3c4bd_fd4f4a5197af4b04855edcfa6feb277f~mv2.jpg/v1/fill/w_620,h_454,al_c,q_80,enc_auto/e3c4bd_fd4f4a5197af4b04855edcfa6feb277f~mv2.jpg)
2.สันหลังคามุกชนผืนหลังคาหลัก ต้องใส่แผ่นปิดรอยต่อ หากหลังคาปั้นหยามีการเปลี่ยนทิศทางขององศาหลังคา จะเกิดรอยต่อที่เรียกว่าตะเข้ ซึ่งบริเวณรอยต่อตะเข้ ต้องมีการป้องกันรั่ว ซึ่งจุดที่สำคัญ คือ
– บริเวณตะเข้สันชนสันหลังคา จะต้องติดตั้งอุปกรณ์เพื่อป้องกันรั่ว 2 จุด คือ บริเวณที่กระเบื้องหลังคาผืนเล็กบรรจบกับหลังคาผืนหลัก ต้องติดตั้งแผ่นปิดรอยต่อปลายครอบสันหลังคา และอีกหนึ่งจุดคือ บริเวณหัวรางน้ำขากางเกง ซึ่งอยู่ใต้ครอบสันหลังคา ต้องติดตั้งแผ่นปิดหัวรางบริเวณจุดต่อชนของรางน้ำ
– บริเวณหัวรางน้ำตะเข้ จะต้องติดแผ่นปิดหัวราง 1 แผ่น และแผ่นปิดรอยต่อบริเวณราง 1 แผ่น อีกทั้งบริเวณรอยต่อครอบ จะต้องติดแผ่นปิดรอยต่อครอบ 1 แผ่น เพื่อป้องกันการรั่วซึม
3.หลังคารอบล่าง ต้องใส่ Sub Roof หลังคารอบล่าง (หลังคาผืนล่าง) มีความต่างองศาหลังคามากกว่า 17 องศา จะมีโอกาสที่น้ำรั่วซึมได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่รองรับน้ำฝน จากหลังคาผืนบน ซึ่งมีแรงตกกระทบของน้ำมากพอสมควร ดังนั้นจึงต้องป้องกันการรั่วซึมโดยการติดตั้ง Sarking โดยติดตั้งบริเวณใต้แป และบนจันทันเท่านั้น ซึ่งการติดตั้งจะต้องติดตั้งให้ถึงขอบนอกไม้บัวเชิงชายเสมอ และต้องติดจนถึงแนวผนังทั้งด้านหัวและด้านข้างกระเบื้อง ที่สำคัญคือปลายแผ่นรองใต้หลังคาต้องติดบนหลังจันทัน ห้ามทิ้งหรือต่อแผ่นระหว่างจันทันดยเด็ดขาด ขอบคุณที่มา : บ้านไอเดีย
Comments