โดยทั่วไป การระบายน้ำ ฝนของบ้านจะเป็นไปตามธรรมชาติโดยซึมลงสู่พื้นดิน ส่วนน้อยจากบริเวณลานซักล้างหรือเฉลียงจะไหลลงสู่รางระบายน้ำข้างรั้ว
การต่อเติมบ้านอาจมีผลกระทบต่อระบบ การระบายน้ำ ซึ่งสังเกตได้หลังเกิดฝนตก เช่น เกิดน้ำเจิ่งนองบริเวณสนามหญ้า เกิดน้ำขังบริเวณพื้นที่ว่างระหว่างอาคารกับรั้ว ปัญหาเหล่านี้มักเกิดจากพื้นที่ดูดซับน้ำลงดินน้อยลง น้ำฝนจึงซึมผ่านลงไปไม่ทัน การแก้ปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้ 4 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1
ทำท่อระบายน้ำจากหลังคาลงสู่บ่อพัก หากรางระบายน้ำเดิมอยู่ไกลก็ควรจัดทำรางระบายน้ำพร้อมบ่อพักขึ้นใหม่ โดยเชื่อมต่อกับรางระบายน้ำเดิม
พื้นที่หลังคา
รางระบายน้ำ ติดตั้งลาดเอียง 1 : 100
ท่อระบายน้ำฝนแนวตั้ง
บ่อพัก
ท่อระบายน้ำฝังดิน ต่อเชื่อมกับท่อระบายน้ำเดิม
แบบขยายบ่อพักรับน้ำฝน
ท่อระบายน้ำฝนแนวตั้ง
ฝาบ่อคอนกรีตหนา 6 - 7 เซนติเมตร เสริมเหล็กกลมขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร วางเป็นตะแกรงทุกระยะ 10 เซนติเมตร
บ่าวางฝาบ่อ เหล็กฉากรูปตัวแอล ขนาดหน้าตัด 50 x 50 มิลลิเมตร หนา 4 มิลลิเมตร
ผนังบ่อพักหนา 10 เซนติเมตร เสริมเหล็กกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร วางเป็นตะแกรงทุกระยะ 20 เซนติเมตร
ชั้นคอนกรีตหยาบรองพื้นหนา 5 เซนติเมตร
ชั้นทรายอัดแน่นหนา 5 เซนติเมตร
ท่อระบายน้ำซีเมนต์หรือพีวีซีเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 6 นิ้ว
แบบที่ 2
ทำรางระบายน้ำใหม่ด้านใดด้านหนึ่งของอาคารส่วนต่อเติม
โดยต่อเชื่อมกับระบบระบายน้ำเดิมเพื่อไม่ให้สนามหญ้ารับน้ำฝนเพียงอย่างเดียว
น้ำฝนไหลลงรางระบายน้ำ
ทำรางระบายน้ำต่อเชื่อมกับระบบระบายน้ำเดิมของบ้าน
รางระบายน้ำคอนกรีต
แบบที่ 3
ทำบ่อพักรับน้ำฝนและระบบระบายน้ำฝนฝังดิน
ปรับระดับสนามหญ้าใหม่ให้มีความลาดเอียงไปสู่บ่อพักน้ำ เพื่อให้น้ำฝนไหลตามสนามหญ้าลงสู่บ่อพักน้ำ และผ่านไปยังท่อระบายน้ำต่อไป
แบบขยายบ่อพักรับน้ำฝน
รูรับน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว
ฝาบ่อพักคอนกรีตหนา 6 - 7 เซนติเมตร เสริมเหล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร วางเป็นตะแกรงทุกระยะ 15 เซนติเมตร
ปูตาข่ายไนลอนและโรยกรวดเพื่อความสวยงาม
บ่าวางฝาบ่อ เหล็กฉาก 50 x 50 มิลลิเมตร หนา 4 มิลลิเมตร
ภายในบ่อพักขนาดประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร
บ่อพักคอนกรีตหนา 10 - 12 เซนติเมตร เสริมเหล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร วางเป็นตะแกรงทุกระยะ 20 เซนติเมตร
ท่อซีเมนต์หรือพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 4 นิ้ว
แบบที่ 4
ระบายน้ำลงท่อซับเดรน (Sub drain pipe)
โดยฝังท่อซับเดรนซึ่งมีคุณสมบัติในการรองรับน้ำที่ซึมลงใต้ดินแล้วระบายไปยังบ่อพักน้ำ เหมาะกับสนามพื้นที่กว้าง
บ่อพักน้ำค.ส.ล.และท่อระบายน้ำซีเมนต์ซึ่งมักทำไว้รอบๆ พื้นที่บ้านเดิม
สนามหญ้า
ฝังท่อซับเดรนสำหรับรองรับน้ำใต้ดิน โดยทำให้ลาดเอียงไปยังบ่อพักน้ำ
แบบขยายการติดตั้งซับเดรน
ชั้นนอกหุ้มด้วยหินเกล็ด
ชั้นกลางหุ้มด้วยหินกรวดเม็ดใหญ่
ชั้นในหุ้มด้วยแผ่นพลาสติกสังเคราะห์
ท่อซับเดรน (Sub drain pipe) มีให้เลือกตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว – 8 นิ้ว
เรื่อง ศักดา ประสานไทย
ภาพประกอบ : “คุณพระ” , คณาธิป จันทร์เอี่ยม ขอบคุณที่มา : บ้านและสวน
Comments